อีเมล์ :
รหัสผ่าน :
ลืมรหัสผ่าน
ตราสัญลักษณ์
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
1. ด้านกายภาพ
1.1 ที่ตั้ง
องค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของอำเภอนาทวี ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาทวี ๕ กิโลเมตร มีถนนสายนาทวี – ประกอบ ผ่านตำบลท่าประดู่และที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลท่าประดู่ มีอาณาเขตติดต่อกับพื้นที่ใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลนาทวีนอก อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยมีแนวเขตเริ่มต้นจากบ้านท่าปาน บริเวณพิกัด PH ๘๖๖๔๒๕ ไปทางทิศตะวันออกตามแนว บ้านคูโตนถึงบริเวณพิกัด PH ๘๘๕๔๒๔ รวมระยะทางด้านทิศเหนือ ประมาณ ๒ กิโลเมตร
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตตำบลสะท้อน อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยมีแนวเขตเริ่มจากบ้านปลายรำบริเวณพิกัด PH ๙๕๓๓๗๘ ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ตามถนนสายพอบิดถึงบ้านหัวควนต่อไปตามถนนสายในหมู่บ้านตรงไปตามทุ่งนา ถึงบริเวณพิกัด PH ๘๖๗๓๕๓ รวมระยะทางด้านทิศใต้ประมาณ ๙ กิโลเมตร
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตำบลนาทวีนอก อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยมีแนวเขตเริ่มต้นที่คลองบ้านคูโตน บริเวณพิกัด PH ๘๘๕๔๒๔ ไปตามแนวคลองถึงคลองพรุหว้า ข้ามคลองพรุหว้า ถึงบ้านร่องบางแก้ว บ้านปลายรำ บริเวณพิกัด PH ๙๕๓๓๗๘ รวมระยะทางด้านทิศตะวันออก ประมาณ ๖.๕ กิโลเมตร
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตำบลปลักหนู อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา โดยมีแนวเขต เริ่มจากบริเวณพิกัด PH ๘๖๗๓๕๓ไปทางทิศเหนือตามแนวคลองนาทวีถึงถนนสายบ้านทุ่งข่า – บ้านเลียบ ไปตามแนวกึ่งกลางถนนถึงคลองนาทวีถึงบ้านป่ากัน บริเวณพิกัด PH ๘๖๗๓๘๘ ไปตามถนนสายบ้านทุ่งดุก – สามแยกบ้านปลักหนู บริเวณพิกัด PH ๘๖๐๓๙๒ ไปตามที่ราบผ่านทุ่งนาถึงบ้านท่าปาน บริเวณพิกัด PH ๘๖๖๔๒๕ รวมระยะทางด้านทิศตะวันตก ประมาณ ๘ กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมาของตำบลท่าประดู่
เป็นตำบลที่มีคลองนาทวีไหลผ่านกลางหมู่บ้าน และที่หมู่ที่ 1 บ้านท่าประดู่ จะมีต้นไม้ขนาดใหญ่อยู่ที่ท่าน้ำหลังวัดเป็นที่ราษฎร และพระในวัดมาใช้อาบน้ำ และซักเสื้อผ้า รวมถึงสมัยก่อน ถ้าต้องการนำไม้จากภูเขามาสร้างบ้านหรือวัด ก็จะต้องล่องลงมาทางลำคลอง และจะมาขึ้นที่ท่าแห่งนี้ เพราะเป็นจุดกึ่งกลางของหมู่บ้าน
วิสัยทัศน์

“ พัฒนาคนด้วยคุณธรรมและความรู้ พัฒนาความเป็นอยู่สู่ความพอเพียง เลิศวัฒนธรรม ล้ำค่าเกษตรอินทรีย์ ดีสิ่งแวดล้อม สวนป่า ลานกีฬาประชายินดี ”

พันธกิจ

1. ปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสาธารณูปโภคให้ได้มาตรฐานและพอเพียงต่อความต้องการของประชาชน เพื่อรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจของท้องถิ่น
2. ส่งเสริมและพัฒนาระบบการศึกษาและสาธารณสุข เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนพร้อมทั้งอนุรักษ์และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและภูมิปัญญาอันดีภายในท้องถิ่น
3. ส่งเสริมและสนับสนุนการประกอบอาชีพและการรวมกลุ่มอาชีพของประชาชน โดยเฉพาะด้านการเกษตรกรรมให้มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้
4. ควบคุมและกำจัดขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและมลภาวะต่างๆ รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
5. ปรับปรุงและพัฒนาระบบบริหารจัดการภายในองค์กร โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เน้นการมีส่วนร่วมและร่วมมือระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลกับประชาชน เอกชน ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพขององค์กรให้พร้อมรองรับการถ่ายโอนอำนาจหน้าที่จากหน่วยงานส่วนกลาง

จุดมุ่งหมาย

1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและโครงสร้างพื้นฐานที่ได้มาตรฐานและเพียงพอ
2. ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี มีการศึกษา มีสุขภาพพลานามัยที่ดี ได้รับบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง
3. ประชาชนมีความมั่นคง ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
4. ประชาชนมีงานทำมีรายได้พอเพียงกับการดำรงชีวิต
5. สังคม ชุมชน มีสภาวะแวดล้อมที่ดี ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี
6. ปลูกจิตสำนึกการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
7. การบริหารในระบบบูรณาการและการทำงานเน้นความโปร่งใส